ป่ากับงานภูมิสถาปัตยกรรม

ป่ามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อภูมิสถาปนิกในการที่จะนำหลักการไปใช้ในการออกแบบ ภูมิสถาปัตย์เพราะงานภูมิสถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวเนื่องครอบคลุมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งการเข้าใจป่าจะทำให้เราสามารถวางแผนออกแบบจัดการได้อยางเหมาะสมป่าไม้ในประเทศไทย เป็นป่าเขตร้อนมีสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืชหลากชนิดที่สุด และมีความสลับซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์มากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

ป่ากับงานภูมิสถาปัตยกรรม

ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) 

เป็นไม้ที่ผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน

  1. ป่าดงดิบ (tropical rain forest)มักขึ้นอยู่ในที่ราบและภูเขาสูงอยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านตลอดปีมีปริมาณน้ำฝนมาก ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา
    • ป่าดงดิบชื้น (moist evergreen forest)
    • ป่าดงดิบแล้ง (dry evergreen forest)
    • ป่าดงดิบเขา (hill evergreen forest)
  2. ป่าสนเขา (pine forest) ส่วนใหญ่พบตามภูเขา บางแห่งเป็นป่าสนล้วนๆ บางแห่งปะปนกับป่าเต็งรังไม้พื้นล่างของป่าสนจะเป็นหญ้าต่างๆ
  3. ป่าชายเลน(mangrove forest) ส่วนใหญ่พบทางภาคใต้ พันธุ์ไม้สำคัญเช่น โกงกาง แสม ลำพู
  4. ป่าชายหาด(beach forest) เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นทรายและโขดหิน
  5. ป่าน้ำขัง (swamp forest)
    • ป่าบึงน้ำจืด (fresh water swamp) เป็นป่าที่ได้รับน้ำในฤดูน้ำหลาก, ฤดูฝน ฤดูอื่นน้ำจะแห้ง
    • ป่าพรุ (peat swamp) เป็นป่าที่อยู่ในที่ต่ำเป็นแอ่งมีการทับถมของซากพืชที่ไม่ค่อยผุสลาย

ป่าผลัดใบ (diciduous forest)

เป็นป่าที่ประกอบด้วยพันธุ์พืชที่ผลัดใบพร้อมๆกันในฤดูแล้ง  และแตกใบใหม่พร้อมๆกันต้นฤดูฝนทำให้เห็นว่ามีการผลัดใบชัดเจน

  1. ป่าเบญจพรรณ (mixed diciduous forest) เป็นป่าที่พบในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ไม่พบในภาคใต้และตะวันออก เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ขนาดกลางและใหญ่ มีไผ่และหญ้าเป็นไม้พื้นล่าง
  2. ป่าเต็งรัง (dry dipterocary forest)โครงสร้างเหมือนป่าเบญจพรรณ ต่างกันเพียงพันธุ์ไม้และวัตถุต้นกำเนิดดิน คือ limestone
  3. ทุ่งหญ้า (savana)
  4. ป่ารุ่น (secondary growth) เป็นป่าธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วถูกทำลายลงไป กำลังอยู่ในระหว่างการทดแทน ซึ่งพ้นสภาพทุ่งหญ้าไปแล้ว
  5. ป่าเขาหินปูน (limestone forest) เป็นป่าที่เกิดขึ้นบนเขาหินปูนโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง พันธุ์ไม้เตี้ยอาจแคระแกร็น เช่น ตะโก ข่อย จันทน์ผา พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลดลงเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหากระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะลูกโซ่ คือเมื่อป่าลดลง ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารได้ถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อมีน้ำหลาก ดินจะถูกชะล้างพังทลายเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้มีโครงการพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาฟื้นฟูเกี่ยวกับป่าไม้โดยได้กล่าวถึงแนวการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้โดยทั่วไป และป่าไม้ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะพื้นที่ เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ เพื่อเป็นแนวทางแก่พื้นที่ที่มีลักษณะแตกต่างกันของส่วนต่างๆของประเทศไทยตลอดจนแนวทางป้องกันไฟป่า โดยใช้หลัก ป่าเปียก ดังจะกล่าวต่อไป

โดยจำแนกออกได้เป็น 4 หัวข้อจากแนวพระราชดำริที่ทรงเน้น

ตัวอย่างโครงการพระราชดำริในเรื่องเกี่ยวกับป่า

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จ.เพชรบุรี เน้นเรื่องป่าเปียก,ป่าชายเลน
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เน้นเรื่องทฤษฏีการปลูกป่า 3 อย่าง
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน เน้นเรื่องการพัฒนาและฟื้นฟู
  • โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี เน้นเรื่องการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม(rehabilitation)
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เน้นการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีทางธรรมชาติ
  • โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  • โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่และลำพูน เน้นการปลูกป่า การทำแนวกันไฟ
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  • โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินธร